วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain )

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain )




การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ(Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying) การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด

ทฤษฎีการเรียนรู้คืออะไร
การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2)
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson and Horrock, 1959)

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม เป็นอย่างไร
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
-          ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
-          ความเข้าใจ (Comprehend)
-          การนำไปใช้ (Application)
-          การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
-          การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
-          การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด




พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการกระทำ ที่เกี่ยวกับ กระบวนการทางสมอง เช่น สติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving) ได้แบ่งระดับพุทธิพิสัยไว้ 6 ระดับ โดยเรียงจากระดับต่ำสุด ถึง ระดับสูงสุด ดังนี้

1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge)
1.1   ความรู้ความจำในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics)
1.1.1         ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology)
เกี่ยวกับความหมายของศัพท์ นิยามหรือคำจำกัดความ สัญลักษณ์ หรือภาพอักษร และ เครื่องหมายต่าง ๆ
1.1.2         ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง (Knowledge of specific facts)
เกี่ยวกับ สูตร กฎ ทฤษฎี หรือสมมุติฐาน ขนาด จำนวน สถานที่ เวลา คุณสมบัติ วัตถุประสงค์ สาเหตุและผลที่เกิด ประโยชน์และโทษ และสิทธิหน้าที่

1.2   ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics)
1.2.1         ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน (Knowledge of conventions)
เกี่ยวกับแบบแผน ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อ ๆ มาในสังคม

2. ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม (Knowledge of trends and sequences)
แนวโน้มที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนั้นเสมอ ๆ และขั้นตอนของการดำเนินการในเรื่องหรือสิ่งนั้น ๆ ที่ต่อเนื่องกัน

3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท (Knowledge of classifications and categories)
เกี่ยวกับชนิด ประเภทของสิ่งของและเรื่องราวต่าง ๆ ว่าอยู่ในหมวดหมู่ประเภทใด มีสิ่งใดที่เหมือนหรือแตกต่างจากพวก โดยยึดเกณฑ์หรือวิธีการใดเป็นหลัก

4. ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of criteria) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินหรือตรวจสอบสรรพสิ่งต่าง ๆ ว่า ดี - เลว ถูก - ผิด ควร-ไม่ควร

5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ (Knowledge of methodology) วิธีการที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานนั้น ๆ ตามหลักวิชาการทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ความรู้ความจำรวบยอด (Knowledge of universals and abstractions in the field)
-ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและขยายหลักวิชา (Knowledge of principles and generalization)
หลักการหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งเคยปรากฏจนสามารถนำมากล่าวสรุปรวบรวมเป็นความจริงทั่วไป
-ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of theories and structures)
เกี่ยวกับคติและหลักการ จากของหลายสิ่ง หลายเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นพวกเดียวกัน เพื่อจะค้นหาทฤษฎี และโครงสร้างที่เป็นตัวร่วมของสิ่งเหล่านั้น

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดพฤติกรรมระดับความรู้-ความจำ เช่น
-อาหารที่บริโภค จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยกระบวนการอะไร
-กรุงเทพมหานคร มีชื่อเต็มว่าอย่างไร
-ประเทศไทยมีกี่จังหวัด

2. ความเข้าใจ (Comprehension)

การแปลความ (Translation)
        เป็นความสามารถในการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง ได้แก่ การแปลความหมายของคำและข้อความ การแปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์ การแปลบทประพันธ์ สุภาษิตและคำพังเพย

การตีความ (Interpretation)
เป็นการสรุปความจากสิ่งต่าง ๆ มากกว่า 1 สิ่ง แล้วนำผลมาสรุป เป็นผลลัพธ์ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะแปลกไปจากของเดิม

การขยายความ (Extrapolation)
การขยายความเป็นการแปลความให้ไกลไปจากข้อมูลเดิม โดยมีข้อมูลหรือแนวโน้มเพียงพอ โดยการขยายความมี 4 แบบ คือ ขยายความแบบจินตนาการ แบบพยากรณ์แบบสมมุติ และแบบอนุมาน

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดความเข้าใจ เช่น
การเจ็บหน้าอกน้ำหนักตัวลด ไอแห้งๆ มีไข้เวลาบ่ายหรือเหงื่อออกเวลากลางคืนเป็นอาการของโรคใด
ก. ปอดบวม    ข. หวัดใหญ่    ค. วัณโรค   ง. หลอดลมอักเสบ


3. การนำไปใช้ (Application)
การนำไปใช้ เป็นการนำเอาความรู้ความจำ และ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆที่ตัวเองมีอยู่ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ปัญหาใหม่นั้น เป็นปัญหาที่ไม่สามารถนำสูตร กฎแก้ปัญหาได้โดยทันที จะต้องใช้ยุทธวิธีหลายอย่างในการแก้ปัญหานั้น

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดพฤติกรรมระดับการนำไปใช้
          -ถ้าไม่มีผงซักฟอก เราสามารถใช้อะไรแทนได้
          -จงบอกวิธีการเปิด ปิดคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง

4. การวิเคราะห์ (Analysis)
การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element)
เป็นการค้นหาคุณลักษณะเด่นของเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ เช่น ความเด่นของข้อความ ความสำคัญของเรื่อง ความนัยของคำพูดหรือกระทำต่าง ๆ วิเคราะห์ชนิด วิเคราะห์สิ่งสำคัญ และวิเคราะห์เลศนัย

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( Analysis of relationships)
เป็นการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญใด ๆ ของเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล โดยที่สิ่งทั้งสองสิ่ง

การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles)
เป็นการค้นหาโครงสร้าง และ ระบบของวัตถุสิ่งของเรื่องราว และการกระทำต่าง ๆรวมกันอยู่ในสภาพนั้นได้เนื่องด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ หรือมีสิ่งใดเป็นตัวเชื่อมโยง

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดพฤติกรรมระดับการวิเคราะห์
          -ปัญหาใดเป็นปัญหาสำคัญในการทำนาของชาวนาไทย
          -รถยนต์วิ่งได้โดยอาศัยหลักการใด


5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication)
เป็นการนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมกัน เพื่อให้เกิดข้อความ หรือผลิตผล หรือการกระทำใหม่ ที่จะสามารถใช้สื่อสารความคิดและอารมณ์ ระหว่างบุคคลกับผู้อื่นได้ เช่น การพูดชี้แจง การแต่งคำประพันธ์ การวาดภาพ และการแสดงต่าง ๆ
การสังเคราะห์แผนงาน (Production of plan or proposed set of operation)
เป็นการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการนั้น สำเร็จลุล่วงตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น ท่านจะวางแผนการทำงานอย่างไรจึงจะได้เป็น

การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of set of abstract relation)
เป็นการนำเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม เช่น จงอธิบายปัญหาที่แท้จริงของการคอรัปชั่นในเมืองไทย

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดพฤติกรรมระดับการสังเคราะห์
          -จงเขียนเรียงความเรื่อง  ครูในดวงใจ”
          -นางงามทุกคนเป็นคนสวย คนสวยส่วนมากผิวขาว  คนผิวขาว บางคนกลัวแดด สรุปได้ว่าอย่างไร


6. การประเมินค่า (Evaluation)
การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน (Judgement in term of internal evidence)
เป็นการประเมินโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เท่าที่ปรากฏอยู่ในเรื่องราวนั้น มาเป็นหลักในการตัดสิน เช่น จากเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งเป็นคนอย่างไร

การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก (Judgement in term of external criteria) 
เป็นการตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเรื่องราวนั้น แต่มีความสัมพันธ์กับเรื่องนั้นเกณฑ์ภายนอกอาจจะเป็นเกณฑ์ทางสังคม เช่น คำว่า "สองหัวดีกว่าหัวเดียว" ท่านเห็นด้วยหรือไม่

ตัวอย่าง ข้อคำถามวัดพฤติกรรมระดับการประเมินค่า
          -ถ้ายึดหลักประชาธิปไตย การที่นางรจนาเลือกเจ้าเงาะ ถือเป็นความผิดหรือไม่
          -ถ้านักเรียนทุจริตในการสอบขณะที่ท่านคุมสอบอยู่ท่านจะทำอย่างไร






วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา 

สรุปเรื่อง Inside out



ตัวละครแทนอารมณ์



       Fear ตัวแทนแห่งความรู้สึกกลัว ผู้ที่มาพร้อมความวิตกกังวลบนหางคิ้วซึ่งตกจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
       Joy ตัวแทนแห่งความสุข ผู้มีมาพร้อมร้อยยิ้มกว้างและเรื่องสนุกสนาน
       Disgust ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่าง และมาพร้อมท่าทางยียวน ดูเหวี่ยงๆ ตลอดเวลา 
       Anger ตัวแทนของความรู้สึกโกรธ ผู้มาพร้อมกับไฟบนหัวยามเมื่อรู้สึกโมโหจัด เขาคือผู้ที่พร้อมจะถูกจุดระเบิดอยู่ตลอดเวลา  
       Sadness ตัวแทนของความรู้สึกโศกเศร้า ความรู้สึกที่มาพร้อมความมัวหมองตลอดเวลา

เรื่องย่อ Inside out
       Inside Out  เป็นเรื่องราวของ ไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ไรลีย์ไม่คุ้นเคย ชีวิตของไรลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) 
 เมื่ออารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่­ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมส่วนกลางภายในจิตใจของ   ไรลีย์ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมือง 
ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ ความทรงจำระยะสั้นซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ ความทรงจำระยะยาวซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา


สิ่งที่ได้จากการดู Inside out  
       1.ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
       2.ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
       3.ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในช่วงแรกของหนัง ไม่มีใครในทีมรู้เลยว่า หน้าที่จริงๆ ของ Sadness (ความเศร้า) คืออะไร
       4.ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
       5.การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
แม้ว่า Joy จะมีความตั้งใจดี แต่เธอก็เป็นผู้นำประเภท control freak ที่พยายามจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามความคิดของตัวเองมากเกินไป
       6.ความโกรธคือพลัง แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี
คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม Anger (ความโกรธ) ก็คือ พลังงานชั้นดีที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
       7. "ความเกลียด" และ "ความกลัว" ปกป้องเราได้
Disgust (ความเกลียด) และ Fear (ความกลัว) ทำงานคล้ายๆ กับ ระบบเซ็นเซอร์โดย Disgust นั้นจะช่วยปัองกันไรลีย์จากสิ่งที่ทำให้เธอไม่สบายกายและไม่สบายใจ ในขณะที่ Fear ก็ช่วยปกป้องเธอจากอันตรายต่างๆ
       8.บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้าง
ฉากที่เศร้าที่สุดฉากหนึ่งใน Inside Out ก็คือตอนที่ ปิ๊งป่อง เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์ ยอมเสียสละตัวเอง เพื่อช่วย Joy ออกจาก หลุมขยะความทรงจำ จนทำให้ตัวเองต้องเลือนหายไป
       9.ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
แนวคิดที่น่าสนใจอันหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงใน Inside Out ก็คือ เกาะบุคลิกภาพ (Islands of Personality) ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคลิกภาพด้านต่างๆ ของไรลีย์ และสร้างตัวตน (Identity) ของเธอขึ้นมา
       10."ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เรา "อ่อนแอ"
เรื่องราวทั้งหมดใน Inside Out ได้คลี่คลายลงในตอนที่ Joy ตัดสินใจมอบหมายให้ Sadness เป็นผู้ควบคุมแผงคอนโซล ซึ่งส่งผลให้ไรลีย์ได้ ปลดล็อคความเศร้าของตัวเอง และได้เปิดใจกับพ่อแม่เป็นครั้งแรก ว่าเธอรู้สึกเศร้าแค่ไหนกับการย้ายบ้านในครั้งนี้



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

       1.ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากหนัง ไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว รับรู้และตอบสนองได้ตามวัยตอนเด็กๆไรลีย์มีเเต่ความสนุก สดใสร่าเริง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม สังคมที่เป็นอยู่ ไรลีย์เป็นเด็กมองโลกในเเง่ดี เเต่เมื่อไรลีย์ย้ายที่อยู่ใหม่ เจอสิ่งเเวดล้อมใหม่ๆ ก็จะเกิดต่อต้าน ระแวง เพราะมนุษย์ล้วนแต่กลัวการเปลี่ยยนแปลงทั้งสิ้น ก่อนจะค่อยๆปรับตัวได้ เพราะไรลีย์เกิดการเรียนรู้นั่นเอง
       2.ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) บรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ใน ขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ Piaget ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา(Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยายและซับซ้อนเพิ่มขึ้น จากหนังไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
       3.ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลา มันก็ต้องถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่งไว้คอยเช็ค faded memories หรือความทรงจำที่ไร้ค่าแล้ว (เช่น เบอร์โทรศัพท์ที่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีช่วยจำแทนแล้ว) โยนทิ้งลงไปในเหว Memory Dump อันมืดมนตลอดกาล
       4.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ(Information Processing) มุ่งเน้นที่จะศึกษา กระบวนการคิด ลำดับขั้นของการประมวลข่าวสาร และการเรียกความรู้ต่างๆ(retrieve) จากความจำระยะยาวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังขั้นตอนการประมวลสารสนเทศของมนุษย์ ของ คลอสไมเออร์  ได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
         1. การบันทึกผัสสะ (Sensory register)
         2. ความจำระยะสั้น (Short-term Memory)
         3. ความจำระยะยาว (Long-term Memory)

          ในหนังความทรงจำแต่ละเรื่องๆ จะถูกเก็บไว้ใน Memory Orbs หรือลูกแก้วกลมๆ สีต่างๆ ตามอารมณ์ ณ ขณะนั้น ซึ่งลูกแก้วความทรงจำทั้งหลายจะเก็บอยู่ใน Long Term Memory ที่เป็นเชลฟ์ๆ เป็นไลบรารี่ เรียงรายคดเคี้ยวเป็นเขาวงกตเหมือนรอยหยักในสมองคนความทรงจำหลักๆ จะถูกเก็บเป็น Core Memory ซึ่งเป็นตัวกำหนด Personality ของคนคนนั้น 

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558


บทที่3
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง
1.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)
      1.1แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan Pavlov)
            พาฟลอฟทำการทดลองโดยแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยสุนัขเกิดการเรียนรู้เพราะสามารถเชื่อมโยงระหว่างเสียงสั่นกระดิ่งกับการให้อาหาร
สรุป แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan Pavlov) คือ การเรียนรู้เกิดจากการนำสิ่งเร้าที่เป็น CS (Conditioned Stimulus)(เสียงกระดิ่งและ UCS (Unconditioned Stimulus)(ผงเนื้อมาเสนอควบคู่กัน และสิ่งเร้านั้นมีลักษณะที่เป็นแรงเสริมตามธรรมชาติ


1.2 แนวคิดของวัตสัน (Watson)
            แนวคิดของวัตสัน แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขคือ ความกลัว โดยที่วัตสันได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้ไม่กล้าจับหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆ หายกลัวหนูขาว
           จากการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
          1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
          2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
    2.1 แนวคิดของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)
           ธอร์นไดค์ เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา เป็นผู้คิดทฤษฎี Connec-tionism
เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่เรียกว่า
S-R Model และให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง เน้นให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ทำการทดลองโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกล่องปัญหาที่มีสลักปิดไว้ โดยเริ่มแรกแมววิ่งวนไปมาเพื่อหาทางออกมาหาอาหาร จนกระทั่งแมวได้กดโดนปุ่มสลักที่สามารถทำให้กรงเปิดได้จนแมวได้ออกมาและกินอาหาร จากนั้นธอร์นไดค์ก็ได้ลองนำแมวที่หิวไปขังกรงอีกครั้ง ครั้งนี้แมวสามารถกดสลักออกมาได้เองและได้กินอาหารซึ่งธอร์นไดต์ เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็น การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)
ธอร์นไดค์ได้สรุปกฎแห่งการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1.กฎแห่งผล (Law of Effect) สิ่งเร้าที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้วทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้วจะเป็นผลทำให้กระทำพฤติกรรมนั้นๆ เหมือนการทดลอง นั่นคือ แมวจะกระทำพฤติกรรมนี้ซ้ำๆเพราะเกิดความพึงพอใจ
            2.  กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อม
            3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆจะทำให้การเรียนรุ้คงทนถาวร
            4. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อยๆ




2.2 แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
            สกินเนอร์ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนท์หรือการเรียนรู้จาการกระทำ
สกินเนอร์ทำการทดลอง โดยได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง คือกล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes) เริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูที่หิวข้าวเข้าไปอยู่ใน Skinner Boxes ซึ่งภายในกล่องจะมีคานเมื่อหนูกดจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีเสียงดังแกรก จาการทดลองปรากฏว่าเมื่อหนุบังเอิญวิ่งไปกดถูกคานจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
- ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)
          หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Rein forcer)
          หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯสรุป สกินเนอร์มีความเชื่อว่าการเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเรียนรู้
 ซึ่งได้กล่าวว่า “การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด


วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่1 นวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา

คำถามท้ายบทที่ 1

1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
        ตอบ MOOCs (Massive Open Online Courses) เป็นนวัตกรรมประเภทการเรียนการสอน 
               เพราะ เป็นหลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์ที่สามารถสมัครเรียนได้ฟรี รองรับผู้เรียนได้จำนวนมหาศาล สามารถเรียนผ่านระบบเว็บไซต์ได้ โดยที่ผ่านมานั้น MOOCs พัฒนาขึ้นมาเพื่อระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เป็นระบบเปิด ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับหลักสูตรตามสถานศึกษาต่างๆ ทั่วไปเป็นรูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมากๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดี อย่างไร
        ตอบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท
                 1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร 
                       ข้อดี เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองต่อคามต้องการ เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
                 2.นวัตกรรมการเรียนการสอน 
                       ข้อดี เป็นการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีการสอนแบบใหม่ๆที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล
                 3.นวัตกรรมสื่อการสอน 
                       ข้อดี เป็นการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
                 4.นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล 
                        ข้อดี เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
                 5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ 
                        ข้อดี เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์
     
     3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาไปสอนและเพราะเหตุผลใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
       ตอบ นวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ ปกติแล้วครูส่วนใหญ่จะมีวิธีการสอนแบบเดิมๆ ทำให้นักเรียนไม่สนใน แต่เมื่อมีนวัตกรรมใหม่เข้ามา จะทำให้นักเรียนสนใจที่จะอยากเรียนมากขึ้น เราสามารถเลือกใช้วิธีการสอนได้หลายหลากให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคน และนอกจากนี้นวัตกรรมการเรียนการสอนนั้นให้ประโยชน์ทั้งครูและนักเรียน เพราะครูเองก็ได้ฝึกฝนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการสอนด้วยตัวเอง และเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น เข้าใจสิ่งที่นักเรียนต้องการมากขึ้น

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
       ตอบ เพราะ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ครูควรจะศึกษาเอาไว้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และถ้าครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอย่างดี ก็จะทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา 1 ประเภท
       ตอบ CAI : Computer Assisted Instruction หรือ Computer Aided Instruction

      ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
          1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ
การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถ ของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน
           2. ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ ทุกเวลาที่ต้องการจะเรียนในทุกๆ แห่ง
           3. ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อมัลติมีเดีย จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถที่จะแสดงภาพลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทยจะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นมาก
           4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ เนื่อง จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือ แผ่นดิสก์ได้ครั้งละมาก ๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์
สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที

ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
          1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศเกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่
ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง จำเป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะ สมกับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา






นางสาววรรณวิษา   ภูพานทอง รหัส 553410080118
ชั้นปีที่4 หมู่เรียนที่1 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม