วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558


บทที่3
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง
1.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)
      1.1แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan Pavlov)
            พาฟลอฟทำการทดลองโดยแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยสุนัขเกิดการเรียนรู้เพราะสามารถเชื่อมโยงระหว่างเสียงสั่นกระดิ่งกับการให้อาหาร
สรุป แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan Pavlov) คือ การเรียนรู้เกิดจากการนำสิ่งเร้าที่เป็น CS (Conditioned Stimulus)(เสียงกระดิ่งและ UCS (Unconditioned Stimulus)(ผงเนื้อมาเสนอควบคู่กัน และสิ่งเร้านั้นมีลักษณะที่เป็นแรงเสริมตามธรรมชาติ


1.2 แนวคิดของวัตสัน (Watson)
            แนวคิดของวัตสัน แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไขคือ ความกลัว โดยที่วัตสันได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้ไม่กล้าจับหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆ หายกลัวหนูขาว
           จากการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
          1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
          2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
    2.1 แนวคิดของธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)
           ธอร์นไดค์ เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา เป็นผู้คิดทฤษฎี Connec-tionism
เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่เรียกว่า
S-R Model และให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง เน้นให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ทำการทดลองโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกล่องปัญหาที่มีสลักปิดไว้ โดยเริ่มแรกแมววิ่งวนไปมาเพื่อหาทางออกมาหาอาหาร จนกระทั่งแมวได้กดโดนปุ่มสลักที่สามารถทำให้กรงเปิดได้จนแมวได้ออกมาและกินอาหาร จากนั้นธอร์นไดค์ก็ได้ลองนำแมวที่หิวไปขังกรงอีกครั้ง ครั้งนี้แมวสามารถกดสลักออกมาได้เองและได้กินอาหารซึ่งธอร์นไดต์ เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็น การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)
ธอร์นไดค์ได้สรุปกฎแห่งการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1.กฎแห่งผล (Law of Effect) สิ่งเร้าที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้วทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้วจะเป็นผลทำให้กระทำพฤติกรรมนั้นๆ เหมือนการทดลอง นั่นคือ แมวจะกระทำพฤติกรรมนี้ซ้ำๆเพราะเกิดความพึงพอใจ
            2.  กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อม
            3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆจะทำให้การเรียนรุ้คงทนถาวร
            4. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อยๆ




2.2 แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
            สกินเนอร์ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนท์หรือการเรียนรู้จาการกระทำ
สกินเนอร์ทำการทดลอง โดยได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง คือกล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes) เริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูที่หิวข้าวเข้าไปอยู่ใน Skinner Boxes ซึ่งภายในกล่องจะมีคานเมื่อหนูกดจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีเสียงดังแกรก จาการทดลองปรากฏว่าเมื่อหนุบังเอิญวิ่งไปกดถูกคานจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
- ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)
          หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Rein forcer)
          หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯสรุป สกินเนอร์มีความเชื่อว่าการเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเรียนรู้
 ซึ่งได้กล่าวว่า “การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น