บทที่
4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา
สรุปเรื่อง Inside
out
ตัวละครแทนอารมณ์
Fear ตัวแทนแห่งความรู้สึกกลัว ผู้ที่มาพร้อมความวิตกกังวลบนหางคิ้วซึ่งตกจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว
Joy ตัวแทนแห่งความสุข ผู้มีมาพร้อมร้อยยิ้มกว้างและเรื่องสนุกสนาน
Disgust ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่าง และมาพร้อมท่าทางยียวน ดูเหวี่ยงๆ ตลอดเวลา
Disgust ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจในทุกสิ่งทุกอย่าง และมาพร้อมท่าทางยียวน ดูเหวี่ยงๆ ตลอดเวลา
Anger ตัวแทนของความรู้สึกโกรธ ผู้มาพร้อมกับไฟบนหัวยามเมื่อรู้สึกโมโหจัด
เขาคือผู้ที่พร้อมจะถูกจุดระเบิดอยู่ตลอดเวลา
Sadness ตัวแทนของความรู้สึกโศกเศร้า ความรู้สึกที่มาพร้อมความมัวหมองตลอดเวลา
เรื่องย่อ Inside
out
Inside
Out เป็นเรื่องราวของ ไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง
และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก
หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ไรลีย์ไม่คุ้นเคย
ชีวิตของไรลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม
และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ
จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy),
ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness)
เมื่ออารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมส่วนกลางภายในจิตใจของ
ไรลีย์ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้
เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก
ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข
ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมือง
ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง
จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ “ความทรงจำระยะสั้น” ซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม
อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที
หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ “ความทรงจำระยะยาว”
ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา
สิ่งที่ได้จากการดู Inside
out
1.ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
2.ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
3.ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในช่วงแรกของหนัง ไม่มีใครในทีมรู้เลยว่า หน้าที่จริงๆ ของ Sadness (ความเศร้า) คืออะไร
4.ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5.การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
แม้ว่า Joy จะมีความตั้งใจดี แต่เธอก็เป็นผู้นำประเภท control freak ที่พยายามจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามความคิดของตัวเองมากเกินไป
6.ความโกรธคือพลัง แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี
คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม Anger (ความโกรธ) ก็คือ ‘พลังงานชั้นดี’ ที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
7. "ความเกลียด" และ "ความกลัว" ปกป้องเราได้
Disgust (ความเกลียด) และ Fear (ความกลัว) ทำงานคล้ายๆ กับ ‘ระบบเซ็นเซอร์’ โดย Disgust นั้นจะช่วยปัองกันไรลีย์จากสิ่งที่ทำให้เธอไม่สบายกายและไม่สบายใจ ในขณะที่ Fear ก็ช่วยปกป้องเธอจากอันตรายต่างๆ
8.บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้าง
ฉากที่เศร้าที่สุดฉากหนึ่งใน Inside Out ก็คือตอนที่ ปิ๊งป่อง เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์ ยอมเสียสละตัวเอง เพื่อช่วย Joy ออกจาก หลุมขยะความทรงจำ จนทำให้ตัวเองต้องเลือนหายไป
9.ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
แนวคิดที่น่าสนใจอันหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงใน Inside Out ก็คือ เกาะบุคลิกภาพ (Islands of Personality) ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคลิกภาพด้านต่างๆ ของไรลีย์ และสร้างตัวตน (Identity) ของเธอขึ้นมา
10."ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เรา "อ่อนแอ"
เรื่องราวทั้งหมดใน Inside Out ได้คลี่คลายลงในตอนที่ Joy ตัดสินใจมอบหมายให้ Sadness เป็นผู้ควบคุมแผงคอนโซล ซึ่งส่งผลให้ไรลีย์ได้ ‘ปลดล็อค’ ความเศร้าของตัวเอง และได้เปิดใจกับพ่อแม่เป็นครั้งแรก ว่าเธอรู้สึกเศร้าแค่ไหนกับการย้ายบ้านในครั้งนี้
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
2.ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
3.ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในช่วงแรกของหนัง ไม่มีใครในทีมรู้เลยว่า หน้าที่จริงๆ ของ Sadness (ความเศร้า) คืออะไร
4.ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5.การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
แม้ว่า Joy จะมีความตั้งใจดี แต่เธอก็เป็นผู้นำประเภท control freak ที่พยายามจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามความคิดของตัวเองมากเกินไป
6.ความโกรธคือพลัง แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี
คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม Anger (ความโกรธ) ก็คือ ‘พลังงานชั้นดี’ ที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
7. "ความเกลียด" และ "ความกลัว" ปกป้องเราได้
Disgust (ความเกลียด) และ Fear (ความกลัว) ทำงานคล้ายๆ กับ ‘ระบบเซ็นเซอร์’ โดย Disgust นั้นจะช่วยปัองกันไรลีย์จากสิ่งที่ทำให้เธอไม่สบายกายและไม่สบายใจ ในขณะที่ Fear ก็ช่วยปกป้องเธอจากอันตรายต่างๆ
8.บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้าง
ฉากที่เศร้าที่สุดฉากหนึ่งใน Inside Out ก็คือตอนที่ ปิ๊งป่อง เพื่อนในจินตนาการของไรลีย์ ยอมเสียสละตัวเอง เพื่อช่วย Joy ออกจาก หลุมขยะความทรงจำ จนทำให้ตัวเองต้องเลือนหายไป
9.ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
แนวคิดที่น่าสนใจอันหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงใน Inside Out ก็คือ เกาะบุคลิกภาพ (Islands of Personality) ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคลิกภาพด้านต่างๆ ของไรลีย์ และสร้างตัวตน (Identity) ของเธอขึ้นมา
10."ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เรา "อ่อนแอ"
เรื่องราวทั้งหมดใน Inside Out ได้คลี่คลายลงในตอนที่ Joy ตัดสินใจมอบหมายให้ Sadness เป็นผู้ควบคุมแผงคอนโซล ซึ่งส่งผลให้ไรลีย์ได้ ‘ปลดล็อค’ ความเศร้าของตัวเอง และได้เปิดใจกับพ่อแม่เป็นครั้งแรก ว่าเธอรู้สึกเศร้าแค่ไหนกับการย้ายบ้านในครั้งนี้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.ทฤษฎีของเพียเจต์
(Piaget) ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม
และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า
สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากหนัง ไรลีย์
เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
เรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว รับรู้และตอบสนองได้ตามวัยตอนเด็กๆไรลีย์มีเเต่ความสนุก
สดใสร่าเริง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม สังคมที่เป็นอยู่ ไรลีย์เป็นเด็กมองโลกในเเง่ดี
เเต่เมื่อไรลีย์ย้ายที่อยู่ใหม่ เจอสิ่งเเวดล้อมใหม่ๆ ก็จะเกิดต่อต้าน ระแวง
เพราะมนุษย์ล้วนแต่กลัวการเปลี่ยยนแปลงทั้งสิ้น ก่อนจะค่อยๆปรับตัวได้ เพราะไรลีย์เกิดการเรียนรู้นั่นเอง
2.ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) บรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ
หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting,
Imagine และ Symbolizing
ซึ่งอยู่ใน ขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต
มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ Piaget ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา(Cognitive
structure) มาตั้งแต่เกิด
ในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยายและซับซ้อนเพิ่มขึ้น
จากหนังไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต
เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์
นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า
เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้
เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
3.ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลา มันก็ต้องถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่งไว้คอยเช็ค faded memories หรือความทรงจำที่ไร้ค่าแล้ว (เช่น เบอร์โทรศัพท์ที่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีช่วยจำแทนแล้ว) โยนทิ้งลงไปในเหว Memory Dump อันมืดมนตลอดกาล
3.ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ ความทรงจำบางอย่าง เมื่อถึงเวลา มันก็ต้องถูกหลงลืมเลือนแล้วสิ้น สมองของเราจึงมีฝ่ายหนึ่งไว้คอยเช็ค faded memories หรือความทรงจำที่ไร้ค่าแล้ว (เช่น เบอร์โทรศัพท์ที่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีช่วยจำแทนแล้ว) โยนทิ้งลงไปในเหว Memory Dump อันมืดมนตลอดกาล
4.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ(Information Processing) มุ่งเน้นที่จะศึกษา
กระบวนการคิด ลำดับขั้นของการประมวลข่าวสาร และการเรียกความรู้ต่างๆ(retrieve)
จากความจำระยะยาวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังขั้นตอนการประมวลสารสนเทศของมนุษย์ ของ คลอสไมเออร์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น
ดังนี้
1. การบันทึกผัสสะ (Sensory register)
2. ความจำระยะสั้น (Short-term Memory)
3. ความจำระยะยาว (Long-term Memory)
ในหนังความทรงจำแต่ละเรื่องๆ
จะถูกเก็บไว้ใน Memory Orbs หรือลูกแก้วกลมๆ สีต่างๆ ตามอารมณ์ ณ ขณะนั้น ซึ่งลูกแก้วความทรงจำทั้งหลายจะเก็บอยู่ใน Long Term
Memory ที่เป็นเชลฟ์ๆ เป็นไลบรารี่ เรียงรายคดเคี้ยวเป็นเขาวงกตเหมือนรอยหยักในสมองคนความทรงจำหลักๆ
จะถูกเก็บเป็น Core
Memory ซึ่งเป็นตัวกำหนด Personality ของคนคนนั้น